ว่าด้วยเรื่องขากรรไกร

ว่าด้วยเรื่องขากรรไกรBanner

ความผิดปกติบริเวณขมับและขากรรไกร TMD

ความผิดปกติบริเวณขมับและขากรรไกร-TMD ความผิดปกติบริเวณขมับและขากรรไกร-TMD2

โรค TMD  ย่อมาจาก Temporomandibular Disorders   คือโรคที่มีอาการผิดปกติบริเวณข้อต่อขากรรไกร มีอาการดังต่อไปนี้

1. ปวดบริเวณใบหน้า ปวดบริเวณขมับ ปวดข้อต่อขากรรไกร หรือบางคนอาจปวดศรีษะ

2. เวลาอ้าปาก-หุบปาก มีเสียงที่ข้อต่อขากรรไกร เช่น เสียงคลิก เสียงป๊อป เสียงกรอบแกรบ

3. เวลาอ้าปากแล้วเบี่ยงไปจากแนวกึ่งกลาง ไม่สมมาตร

4. อ้าปากได้จำกัด อ้ากว้างไม่ได้

5. อ้าปากค้าง หรือหุบปากได้ลำบาก

6. การสบฟันเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน

หากมีอาการเหล่านี้ แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านทันตกรรมบดเคี้ยว

เสียงดังหน้าหู  อ้าปากหุบปากแล้วมีเสียง เกิดจากอะไร

เกิดจากแผ่นรองข้อต่อขากรรไกรมีการปลิ้นหรือเคลื่อนอยู่ผิดที่ พอมีการเคลื่อนที่ของขากรรไกร กระดูกขากรรไกรล่างนี้จะขัดกับแผ่นรองข้อต่อที่ปลิ้นอยู่ ทำให้เกิดเสียงคลิกหรือเสียงป๊อป อาจมีอาการปวดร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้  ซึ่งมีสาเหตุมาจาก

– การนอนกัดฟัน

– การใช้งานขากรรไกรที่ไม่สมดุล เช่น การเคี้ยวอาหารข้างเดียว การเคี้ยวหรือแทะอาหารที่ฟันหน้า ทานอาหารที่ชิ้นใหญ่ เหนียวหรือแข็งมากไป

– กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนที่ของแผ่นรองข้อต่อขากรรไกรมีการทำงานผิดปกติไป

– เกิดอุบัติเหตุถูกกระแทกที่ขากรรไกร

แนวทางการรักษาอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

แนวทางการรักษาอาการผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

1.ลดการใช้งานขากรรไกร  หลีกเลี่ยงการทานอาหารแข็ง เหนียว กรอบ อาหารที่ต้องกัดแทะ

2.ห้ามเคี้ยวอาหารข้างเดียว  ให้สลับเคี้ยวทั้ง2ข้างซ้ายขวาให้สมดุลกัน และแบ่งอาหารเป็นคำเล็กๆ

3.อยู่ในท่าผ่อนคลายขากรรไกรไกร  ต้องสังเกตุตัวเองว่าขณะอยู่เฉยๆ ไม่ได้กำลังเคี้ยวอาหารอยู่ ต้องไม่กัดเน้นฟัน เวลาปกติต้องอยู่ในท่าพัก ปิดปากสนิท แต่ฟันบนและล่างไม่กระทบกัน

4.ไม่อ้าปากกว้างเกินไป และไม่อ้าค้างอยู่นานๆ  ระวังตอนหาว ให้เอามือรองใต้คางไว้เพื่อไม่ให้อ้ากว้างเกินไป

5.ถ้าต้องทำงานที่นั่งหน้าคอมเป็นเวลานานๆ ให้พักยืดกล้ามเนื้อที่คอ ไหล่ และหลังเป็นระยะๆบ้าง

6.เมื่อมีอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณขากรรไกรและใบหน้า ให้ใช้การประคบอุ่นช่วยคลายกล้ามเนื้อ
การประคบอุ่น : ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นบิดหมาดๆ หรือใช้ hot pack หรือกระเป๋าน้ำร้อน ประคบขากรรไกรทั้งสองข้าง ข้างละประมาณ 20 นาที  วันละ 2-4 ครั้ง แล้วตามด้วยการนวดคลึงเบาๆ

7. หลีกเลี่ยงคาเฟอีน เพราะอาจมีผลให้กล้ามเนื้อตึงตัว

8. กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

9. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการนอนคว่ำ

10. ทำใจให้สบาย อย่าเคร่งเครียดเกินไป

11. หากมีอาการปวด ทันตแพทย์อาจจ่ายยาแก้ปวด แก้อักเสบหรือยาคลายกล้ามเนื้อ และให้ทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย

12. บางเคสอาจต้องใส่เฝือกสบฟัน (Splint) เพื่อลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อและลดแรงกระแทกที่ข้อต่อขากรรไกร

นอนกัดฟัน Bruxism

นอนกัดฟัน-Bruxism

นอนกัดฟัน คือการขบเน้นฟันแน่นๆ หรือฟันบนล่างบดถูไถกัน   พบได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก  ปกติแล้วคนที่นอนกัดฟันมักไม่รู้ตัวเพราะเกิดขึ้นตอนนอนหลับ  อาจจะรู้จากผู้ที่อยู่ด้วยเพราะมีเสียงดังรบกวน  แต่ถ้าเป็นการนอนกัดฟันแบบขบเน้นฟันแน่นๆ ก็มักจะไม่มีเสียง ไม่มีคนได้ยิน   มักมาพบหมอด้วยอาการู้สึก ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรบริเวณใบหน้าหลังตื่นนอน หรือเมื่อยตึงบริเวณขมับหรือลำคอ

สาเหตุของการนอนกัดฟัน

1. สบฟันผิดปกติ มีความผิดปกติของข้อต่อขากรรไกร

2. สภาพจิตใจ เช่น ความเครียด ความกังวล

3. พันธุกรรม

4. การทำงานของระบบประสาท / สารสื่อประสาทผิดปกติ

5. ดื่มแอลกอฮอลล์  สารเสพติด หรือยารักษาโรคซึมเศร้าบางชนิด

ผลเสียหายของการนอนกัดฟัน

  • ทำให้ฟันสึก ปล่อยทิ้งไว้นานๆจะเห็นฟันสั้นลง ตามมาด้วยใบหน้าสั้นลง และฟันอาจสึกจนทะลุชั้นโพรงประสาท
  • ทำให้ฟันแตกร้าว ซึ่งหากลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน จะต้องรักษาโดยการรักษารากฟัน และทำครอบฟัน หรืออาจรุนแรงถึงขั้นต้องถอนฟันแล้วใส่ฟันปลอมทดแทน
  • ทำให้ฟันโยก ซึ่งหากแก้ไขไม่ทัน จะทำให้สูญเสียฟันซี่นั้นๆไปในที่สุด
  • วัสดุอุดฟันแตก/หลุด
  • ปวดข้อต่อขากรรไกร และกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า โดยเฉพาะหลังตื่นนอนตอนเช้า อาจรู้สึกอ้าปากและเคี้ยวอาหารลำบากด้วย
  • กระดูกขากรรไกรโตขึ้น มักมีกระดูกงอก
  • ทำให้ใบหน้าใหญ่ขึ้น เพราะการขยายของกระดูก
  • บั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยา เพราะอาจมีเสียงดังมากจนอีกฝ่ายนอนไม่หลับ


วิธีการรักษาการนอนกัดฟัน

1. ใส่เฝือกสบฟัน (Occlusal Splint) เพื่อป้องกันฟันสึก ฟันร้าว และแตกหัก

2. แนะนำให้จัดฟัน หากตรวจแล้วพบว่าเกิดจากการสบฟันที่ผิดปกติง

3. แนะนำให้ทำจิตใจผ่อนคลายก่อนนอน หลีกเลี่ยงความเครียด ห้องนอนควรเงียบ และไม่มีแสงสว่างมากเกินไป

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ

5. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอลล์ คาเฟอีน ชากาแฟ บุหรี่ ก่อนเข้านอน

6. พิจารณาจ่ายยาคลายกล้ามเนื้อ  ยาคลายกังวล  เมื่อมีข้อบ่งชี้

นอนกรน

นอนกรน

การนอนกรน ไม่ใช่เพียงแค่สร้างความรำคาญให้แก่คนที่นอนข้างๆ  แต่แท้จริงแล้วอันตรายกว่าที่คิด  เพราะในขณะที่เรานอนหลับ ทางเดินหายใจส่วนลำคอ จะแคบลงเนื่องจาก เพดานอ่อน ลิ้นไก่ และ ลิ้น ตกไปด้านหลัง ตามน้ำหนักของเนื้อเยื่อ ร่วมกับการหย่อนตัวของกล้ามเนื้อของลิ้นและเพดานอ่อน    ขณะนอนหลับ ผู้ป่วยนอนกรนจะมีช่องคอแคบ จากเนื้อเยื่อเพดานอ่อน ลิ้นไก่ หรือลิ้น มีขนาดใหญ่และหย่อนยาน หรือมี คางสั้นมาก เวลาหายใจขณะหลับ จะมีการสั่นสะเทือนของเพดานอ่อน ลิ้นไก่ หรือโคนลิ้น จึงทำให้เกิดเป็น เสียงกรน ผู้ป่วยมักมีเสียงกรนไม่สม่ำเสมอ มีลักษณะของการกลั้นหายใจหรือสำลักน้ำลาย ตามด้วยการ สะดุ้งหรือหายใจอย่างแรงเหมือนขาดอากาศ อาจเกิดขึ้นหลายสิบหรือหลายร้อยครั้งต่อคืน

การนอนกรนอันตรายกว่าที่คิด

การนอนกรนสามารถเป็นจุดเริ่มของ การเกิดโรคหลายๆอย่าง มีโอกาสเป็น

-โรคความดันโลหิตมากกว่าคนปกติ 2.5 เท่า

-โรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2-4 เท่า  

-โรคสมอง โรคอัมพฤกษ์อัมพาตมากกว่าคนปกติ 2 เท่า

-โรคสมรรถภาพทางเพศเสื่อม

-โรคเบาหวาน

-ความจำเสื่อม

-หลับในง่าย ปวดศีรษะหลังตื่นนอน  อ่อนเพลียง่าย และง่วงนอนตลอดเวลา

-โรคเครียด

ผู้ป่วยที่มีการนอนกรน อาจมีโอกาสที่จะหยุดหายใจชั่วขณะ หายใจติดขัดระหว่างนอนหลับ ในขณะที่มีการหยุดหายใจ ออกซิเจนในเลือดแดงจะต่ำลง ทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงาน ของอวัยวะต่าง ๆ  โดยเฉพาะหัวใจ หลอดเลือด ปอด และสมอง เป็นผลให้สมองต้องถูกปลุกให้ตื่นขึ้น เพื่อ เปิดทางเดินหายใจและทำให้ออกซิเจนสามารถผ่านเข้าไปในปอดได้อีก หลังจากนั้นไม่นาน สมองจะเริ่ม หลับอีก การหายใจก็จะเริ่มขัดข้องอีก แล้วปลุกสมองให้ตื่นขึ้นอีก วนเวียนซ้ำแล้วซ้ำอีกเช่นนี้ไปตลอดคืน ทุกคืน เป็นผลให้สมรรถภาพการนอนหลับเสียไป รวมทั้งทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ  แบบเรื้อรัง

สาเหตุของการนอนกรน

  • ความอ้วน
  • อายุที่มากทำให้เนื้อเยื่อช่องคอหย่อนยาน
  • โครงใบหน้า คอ หรือ ขากรรไกรที่เล็ก
  • โรคภูมิแพ้
  • ผู้เสพติดแอลกอฮอล์
  • กรรมพันธุ์

ตรวจและประเมินความรุนแรงของภาวะนอนกรน

สำหรับการรักษา ผู้ป่วยที่รู้ตนเองว่านอนกรนนั้น ควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง หู คอ จมูก หรืออายุรแพทย์ทางเดินหายใจ เพื่อตรวจและประเมินความรุนแรงของภาวะนอนกรน ซึ่งจะมีการทดสอบการนอนหลับ วัดอัตราการหยุดหายใจ และปริมาณออกซิเจน การรักษาการนอนกรนนั้น อาจใช้ร่วมกันหลายวิธี เช่น การลดน้ำหนัก ผ่าตัดเนื้อเยื่อช่องคอ ใช้เครื่อง CPAP เป็นเครื่องช่วยหายใจติดจมูกในขณะนอนซึ่งถือว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาการนอนกรนในปัจจุบัน แต่มักก่อให้เกิดความรำคาญ เนื่องจากติดแน่นที่จมูก มีการอัดอากาศเข้าไป และมีเสียงดัง  แต่หากผู้ป่วยมีระดับการนอนกรนในระดับน้อยถึงปานกลาง การใส่เครื่องมือในช่องปากเพื่อช่วยเปิดช่องคอก็เป็นวิธีที่ผู้ป่วยตอบสนองในการรักษาดีเช่นกัน

เครื่องมือกันกรน

เครื่องมือที่ทำในช่องปากเป็นลักษณะถอดได้ ใส่ครอบฟันบนและล่าง เพื่อยื่นขากรรไกรออกมาด้านหน้า ทำให้เนื้อเยื่อช่องคอเปิดออก จึงทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้นและเสียงกรนเบาลง  ขั้นตอนในการทำเครื่องมือนั้น ทันตแพทย์จะพิมพ์ปากและวัดระยะขากรรไกรที่ควรจะยื่นออกมา จากนั้นส่งไปทำเครื่องมือกันกรน และนัดผู้ป่วยมาใส่ จากนั้นจะมีการติดตามผลเป็นระยะ เพื่อดูการตอบสนองต่อการรักษา อาจมีการปรับแต่งเพื่อให้ยื่นขากรรไกรได้มากขึ้น ทั้งนี้หากยื่นขากรรไกรมากเกินไป ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดบริเวณ ขมับขากรรไกรหลังตื่นนอนได้ จึงควรได้รับการรักษากับทันตแพทย์เฉพาะทางที่เหมาะสม สำหรับผู่ป่วยที่ต้องการใส่เครื่องมือกันกรน ควรไปปรึกษาแพทย์และผ่านการทดสอบการนอนหลับ และทราบว่าตนเองมีระดับการนอนกรนอยู่ในระดับน้อยถึงปานกลาง เครื่องมือจึงมีประสิทธิภาพสูงสุด

6 วิธีเลี่ยงเสียงกรน

1. ควบคุมน้ำหนัก ความอ้วนเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของอาการนอนกรน เพราะไขมันที่สะสมบริเวณช่องทางเดินหายใจ บริเวณคอ ถูกเบียดให้เล็กลง รวมทั้งไขมันที่หน้าอกและท้อง ก็ยังเป็นภาระให้ร่างกายต้องหายใจหนักขึ้น และใช้พลัง
งานในการหายใจมากขึ้น

2. ออกกำลังกาย เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อที่ดึงรั้งช่องทางเดินหายใจมีความแข็งแรงขึ้น ขณะที่นอนหลับเนื้อเยื่อภายในปาก จะได้ไม่หย่อนลงมาจนขัดขวางช่องทางเดินหายใจ

3. จัดท่านอน พยายามจัดท่านอน เพื่อป้องกันการหายใจทางปาก โดยการนอนตะแคงงอข้อศอก เพื่อให้มือข้างหนึ่งยันคาง ไว้เป็นการปิดปาก หรืออาจใช้หมอนหนุนหลังเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้พลิกมานอนหงาย อาจฝึกด้วยการนอนในที่  แคบๆ จนเคยชินก็ได้ หรือจะลองใช้ลูกเทนนิสสอดไว้ในเสื้อนอนด้านหลัง ความไม่สบายนี้ จะช่วยเตือนให้คุณหลับในท่าตะแคงได้โดยตลอด

4. ยกศีรษะให้สูงขึ้น ถ้านอนตะแคงไม่ได้จริงๆ ให้นอนหงายแล้วใช้หมอนเล็กๆ หนุนที่บริเวณหลังคอด้านบน ยกศีรษะ ให้สูงจากเตียง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นหย่อนลงไปในลำคอ จนเกิดเสียงกรนได้

5. รักษาที่นอนให้สะอาด พยายามกำจัดปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดหอบหืด ภูมิแพ้ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการกรน เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์

6. เพิ่มระดับความชื้นในห้องนอน เพราะการนอนในห้องที่มีความชื้นต่ำมาก อากาศภายในห้องจะแห้ง ทำให้เยื่อบุต่างๆ ในระบบทางเดินหายใจพลอยแห้งตามไปด้วย บางรายอาจเกิดอาการบวม และทางเดินหายใจตีบแคบลง จนเกิดอาการ นอนกรนในที่สุด

ทำฟันกับ AG DENTAL PLUS

ตรวจสุขภาพฟัน

อุดฟัน

ขูดหินปูน รักษาโรคเหงือก โรคปริทันต์

ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ศัลยกรรมช่องปาก

ฟอกสีฟันขาว

รักษาฟันเด็ก

รักษารากฟัน

ฟันปลอมถอดได้/ฟันปลอมติดแน่น

รากฟันเทียม ครอบฟัน สะพานฟัน

ปวดขากรรไกร นอนกัดฟัน นอนกรน

บำบัดฉุกเฉิน ลดอาการปวด

โปรโมชั่น

เรื่องฟันน่ารู้ ความรู้เรื่องฟัน AG Dental Plus Clinic ทำฟัน จัดฟัน โดยทีมทันตแพทย์มหิดล

เปิดให้บริการทุกวัน 9.00-20.00 น.

ปรึกษาทางออนไลน์ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย

Copyright © 2009 AG Dental Plus Clinic – All Rights Reserved.

ข้อจำกัดความรับผิด: ผลลัพธ์การรักษาขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล