ฟัน....คุด

ฟัน.....คุดBanner

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุดคืออะไร

    ฟันคุด คือฟันซี่ที่ไม่สามารถโผล่ขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติในช่วงอายุ 17-21 ปี  โดยอาจจะไม่ขึ้นมาเลย  หรือขึ้นมาเพียงบางส่วน   ทิศทางการขึ้นของฟันคุดอาจจะตั้งตรง เอียงๆ หรือนอนขวางในแนวราบ  ฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามใหญ่ซี่สุดท้าย (ซี่ที่3)  ส่วนซี่อื่นๆที่พบเป็นฟันคุดได้ คือ ฟันเขี้ยว  ฟันกรามน้อย แต่พบได้น้อยกว่า

จะทราบได้อย่างไรว่ามีฟันคุด

  • มีอาการปวด บวม หรือเจ็บเหงือกบริเวณซี่ในสุด
  • จากการตรวจในช่องปาก แล้วพบว่ามีฟันซี่ใดโผล่ขึ้นมาได้เพียงบางส่วน หรือฟันซี่ใดหายไปเลย สามารถเช็คให้แน่ใจได้โดยการเอกซเรย์ดู ก็จะทราบว่ามีฟันคุดฝังอยู่ในตำแหน่งใดบ้าง

ผลเสียของฟันคุด

ผลเสียของฟันคุด

ทำไมต้องผ่าฟันคุด  ถ้าปล่อยไว้จะมีผลเสียอะไรบ้าง

1.ฟันคุด ทำให้เกิดฟันผุ    เพราะบริเวณฟันคุด เป็นบริเวณที่ลึกสุด มักทำความสะอาดได้ไม่ทั่วถึง จึงส่งผลให้ฟันคุดผุ และยังลุกลามไปยังฟันซี่ถัดออกมาด้วย

2.ฟันคุด ทำให้เหงือกอักเสบ  เนื่องจากแปรงทำความสะอาดได้ลำบาก จึงพบได้บ่อยมากว่าฟันคุดเป็นสาเหตุให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ บวมแดง  หรือฝาปิดเหงือกบริเวณฟันคุดอักเสบ

3.ฟันคุด อาจทำให้ฟันเกได้  เนื่องจากแรงดันจากฟันคุด อาจจะดันจนทำให้ฟันซี่อื่นๆเบียดตัวกันจนซ้อนเกได้

4. ฟันคุดทำให้เกิดการละลายตัวของรากฟันซี่ช้างเคียงได้

5.ฟันคุดอาจขัดขวางการจัดฟัน ทันตแพทย์จัดฟันจึงมักส่งต่อผู้ป่วยเพื่อผ่าฟันคุดออกก่อนการรักษา

6.ฟันคุด มีโอกาสทำให้การติดเชื้อจากฟันคุดได้ จะทำให้แก้มบวม หน้าบวม อ้าปากได้น้อย  ลุกลามติดเชื้อลงไปยังช่องคอ  บางรายรุนแรงถึงชีวิตเลยก็มี

7.ฟันคุด มีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ (cyst)  หรือเนื้องอกได้

ขั้นตอนการผ่าฟันคุด

ขั้นตอนการผ่าฟันคุด

1.ตรวจภายในช่องปาก และเอ็กซเรย์เพื่อดูตำแหน่งของฟันคุด

2.ให้ยาชาเฉพาะที่

3.กรีดเปิดเหงือก และกรอกระดูกที่คลุมฟันคุดอยู่โดยรอบ

4.เอาฟันคุดออกมาทั้งซี่  หรือตัดแบ่งฟันคุดเป็นส่วนๆ เพื่อให้นำออกมาได้

5.เย็บปิดแผล  และนัดกลับมาตัดไหมภายใน 7-10 วัน

ควรผ่าฟันคุดตอนอายุเท่าไหร่

การผ่าฟันคุดควรทำในช่วงที่อายุยังน้อย  ช่วง 17 – 25 ปี  เพราะสามารถทำได้ง่าย แผลหายเร็วและผลแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดน้อย

ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดฟันคุด

1. การปวด/บวม เกิดจากการอักเสบซึ่งเป็นกระบวนการปกติ  จะเป็นมากในช่วง 2-3 วันหลังผ่าตัด แล้วจะค่อยๆน้อยลง  สามารถบรรเทาอาการได้ด้วยยาแก้ปวด

2. แผลติดเชื้อ ซึ่งสามารถลดการติดเชื้อได้โดยรับประทานยาฆ่าเชื้อตามที่ทันตแพทย์สั่ง

3. กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (alveolar osteitis) จะมีอาการปวดรุนแรง เกิดจากมีการรบกวนลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นบริเวณแผลผ่าตัดฟันคุดให้หลุดไป ซึ่งมีผลต่อการหายของแผลโดยมากมักจะเกิดในช่วง 3-4 วันหลังผ่าตัดฟันคุด ให้กลับมาพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษาต่อ

4. อาการอ้าปากได้จำกัด สามารถบรรเทาอาการได้โดยการประคบอุ่นและการบริหารกล้ามเนื้อ หรือทานยาคลายกล้ามเนื้อตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

5. อาการชาหลังผ่าฟันคุด บริเวณที่ชาคือ ริมฝีปาก ลิ้น ซึ่งอาการชานี้สามารถเกิดได้ทั้งชนิดชั่วคราวและถาวร แต่โดยมากมักเกิดชั่วคราวโดยจะค่อยๆดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 3-6 เดือน

กรณีแบบไหนที่ไม่ต้องผ่าหรือถอนฟันคุด

ฟันกรามซี่ที่3 ที่ขึ้นได้เต็มซี่  ตั้งตรง มีคู่สบ  และสามารถแปรงทำความสะอาดเข้าไปได้ถึง

ข้อปฏิบัติตัวหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด

ข้อปฏิบัติตัวหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด ข้อปฏิบัติตัวหลังการถอนฟันหรือผ่าฟันคุด2

ทำฟันกับ AG DENTAL PLUS

ตรวจสุขภาพฟัน

อุดฟัน

ขูดหินปูน รักษาโรคเหงือก โรคปริทันต์

ถอนฟัน ผ่าฟันคุด ศัลยกรรมช่องปาก

ฟอกสีฟันขาว

รักษาฟันเด็ก

รักษารากฟัน

ฟันปลอมถอดได้/ฟันปลอมติดแน่น

รากฟันเทียม ครอบฟัน สะพานฟัน

ปวดขากรรไกร นอนกัดฟัน นอนกรน

บำบัดฉุกเฉิน ลดอาการปวด

โปรโมชั่น

เรื่องฟันน่ารู้ ความรู้เรื่องฟัน AG Dental Plus Clinic ทำฟัน จัดฟัน โดยทีมทันตแพทย์มหิดล

เปิดให้บริการทุกวัน 9.00-20.00 น.

ปรึกษาทางออนไลน์ได้ ไม่มีค่าใช้จ่าย

Copyright © 2009 AG Dental Plus Clinic – All Rights Reserved.

ข้อจำกัดความรับผิด: ผลลัพธ์การรักษาขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล